แต่ละก้าวที่ย่างเดิน


ตราบยังมีแสงทองส่องฟากฟ้า
การเดินทางค้นหาไม่สิ้นสุด
อุปสรรคนานามายื้อยุด
ไม่อาจฉุดใจฉันเพราะมั่นคง



วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน



ความหมายของสื่อการสอน
ความหมายของสื่อการสอน สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น - วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ - ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ - วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน - คำพูดท่าทาง - วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร - กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ


ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

สื่อการสอนนั้นมีมากมายและได้พัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้กำหนดและแบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ หลายท่านด้วยกัน ดังนั้นผมจึงสรุปดังนี้จากการที่นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้นั้น พอจะสรุปได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ เป็นต้น
1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น


คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน

1.คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

2.คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียนคือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ 7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการใช้สื่อการสอน
1. การวางแผน (Planning) การใช้สื่อการสอนต้องมีการวางแผน โดยในขั้นของการวางแผนคือการพิจารณาว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการเรียนการสอน
2. การเตรียมการ (Preparation) เมื่อได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้

2.1 การเตรียมความพร้อมของผู้สอน
2.2 การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน
24 การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอน
3 ช่วง ได้แก่ ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน และช่วงสรุปในทุกช่วงเวลาสามารถนำสื่อการสอนเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้หรือการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เลือกใช้สื่อการสอนควรมีความเข้าใจว่าสื่อการสอนที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน
2. ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน
3. ช่วงสรุปบทเรียน
4 .ทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
5.การนำเสนอควรมีจุดเน้นและอธิบายรายละเอียดในส่วนที่สำคัญ ในขณะนำเสนอ
4. การติดตามผล (Follow - up) ภายหลังการใช้สื่อการสอนแล้ว ผู้สอนควรทำการซักถาม ตอบคำถามผู้เรียน หรืออภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพื่อสรุปถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ และเพื่อทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความเข้าใจบทเรียนเพียงใด และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอน ตลอดจนวิธีการใช้สื่อการสอนของครูว่า มีข้อดี ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้าง

หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน



จิตวิทยาการรับรู้

การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้




จิตวิทยาการเรียนรู้(Psychology of learning)

เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม รวมถึงปัญหา


จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)

เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและ

หน่วยที่ 3 การสื่อสาร


ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ ผู้ส่งสาร (Sender) คือ แหล่งข้อมูลเริ่มต้น ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ บุคคล สื่อมวลชน สาร หรือข้อมูล (Message) คือ เรื่องราวที่ต้องการให้ผู้อื่นได้รับรู้ มีความหมาย และ สาระสำคัญเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง ที่ผู้ส่งต้องการสื่อไปยังผู้รับสาร อาจอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อความ ท่าทาง การแสดงสีหน้า คำพูด น้ำเสียง การสัมผัส เป็นต้น
ตัวกลาง (Channel) คือ ช่องทางที่ทำหน้าที่นำพาข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูป ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การได้ยิน การได้เห็น การสัมผัส การดมกลิ่นและรส จากสื่อต่างๆ ที่ใช้ใน การสื่อสาร ผู้รับสาร (Receiver) หน่วยสุดท้ายของการสื่อสาร เพราะส่วนนี้ต้องเป็นผู้ที่รับรู้สิ่งต่างๆ จากผู้ส่งสาร และเป็นสิ่งที่ใช้วัดว่าการสื่อสารครั้งนั้นๆ เป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่ เพราะถ้าผู้รับสารไม่มีความ เข้าใจในเรื่องที่กำลังสื่อสารกัน จะไม่เรียกว่าการสื่อสาร


รูปแบบของการสื่อสาร
การสื่อสารของสัตว์
การสื่อสารระหว่างบุคคล
การตลาด
การโฆษณา
การโฆษณาชวนเชื่อกิจการสาธารณะ
การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารภายในบุคคล
การสื่อสารด้วยคำพูด
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
โทรคมนาคม การสื่อสาร
โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง


แบบจำลองของการสื่อสาร
การสื่อสารโดยทั่วไปจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือผู้ส่งหรือผู้สื่อ --- --- --- เนื้อหา เรื่องราว และกระบวนการสื่อสาร --- --- --- ผู้รับความมุ่งหมายของการสื่อสารคือ การที่ผู้รับยอมรับสารที่ผู้ส่ง ส่งไปยังผู้รับ ถ้าผู้รับเข้าใจความหมายของสาร ที่ผู้ส่งขอให้ผู้รับปฏิบัติ แต่ผู้รับไม่ปฏิบัติตาม ความสำเร็จตามความมุ่งหมายของการสื่อสารนั้นก็ไม่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากผู้รับตอบสนองต่อสารที่ผู้ส่งส่งไปยังผู้รับ และปฏิบัติตามความเหมาะสม ความมุ่งหมาย ของการสื่อสารนั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จ




การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า S.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี



หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน

ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
คือการจัดทำสื่อให้น่าสนใจ น่าติดตาม เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตจะต้องออกแบบและอาศัยความรู้ความชำนาญด้านศิลปะเข้ามาช่วยในการจัดทำให้หัวข้อย่อยหรือโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้นั้นเป็นรูปเป็นร่าง มีรูปแบบที่สวยงาม สามารถสื่อความหมายได้เหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้สื่อที่ผลิตนั้น .สะดวกต่อการใช้ ง่ายต่อการเข้าใจ. จะทำให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่า และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี

การออกแบบสื่อ

องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

สื่อการสอน

คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา



วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน

เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ

1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน

2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน

3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี

4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน

5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้



การสร้างแบบจำลองและการออกแบบสื่อการเรียนการสอน ตามประเภท


1. แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองวิทยาศาสตร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองความคิด เป็นต้น แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซตของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ แบบจำลองจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุผลภายในกรอบงานเชิงตรรกในอุมดมคติของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์โดยแบบจำลองเป็นสิ่งที่ทำให้สมมติฐานต่าง ๆชัดแจ้งขึ้น ว่าถูกหรือผิดในรายละเอียด

2.แบบจำลองที่เป็นรูปธรรม ใช้แทนวัตถุได้ เช่น ตัวแบบ แบบจำลองสามมิติ บ้านจำลอง รถจำลอง แบบจำลองในเกม เป็นต้น

หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก

ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก

.." กราฟิก " (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น ....เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน..วัสดุกราฟิกหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน

งานกราฟิก หมายถึง งานการวางแผนทางศิลปะและการทำหัวเรื่อง โดยรู้ขนาดและสัดส่วนหลักในการออกแบบ รวมถึงการใช้สีเป็นองค์ประกอบเพื่อเน้นและดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น และเป็นการช่วยให้ได้รายละเอียดชัดเจนของวัสดุที่ใช้ประกอบการสอน และยังมีความหมายรวมไปถึงการผนึกภาพ ภาพถ่าย รูปถ่าย อีกด้วย

คุณค่าของงานกราฟิกงานกราฟิกที่ดีจำทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดนตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูล ให้เกิดความสนใจ การยอมรับ ในขณะเดียวกันยังแสดงถึง


1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจตรงกัน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้
3. ช่วยให้งานเกิดความน่าสนใจ ประทับใจ แก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5. ก่อให้เกิดความคิกสร้างสรรค์6. ทำใหู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งทางด้านการกระทำและความคิด

การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
สีและการใช้สี
สี (Colors) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการออกแบบสื่อสองมิติ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการออกแบบหน้าจอแสดงผล เพราะนอกเหนือไปจากให้ความสวยงามให้ความเหมือนจริงของสิ่งที่อยู่ภายในภาพแล้ว สียังช่วย
ชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึง ความแตกต่าง และความสำคัญได้อย่างชัดเจน


ในแง่มุมของจิตวิทยา สีสามารถให้ความรู้สึกทางอารมณ์กับผู้ดู
(ผู้เรียน) ดังนี้


สีแดง เป็นสีที่เด่นสะดุดตาเหมาะสำหรับการเน้นความสำคัญของส่วนต่าง ๆ เนื่องจากสีแดงเป็นสีที่แสดงออกถึงการ
แข่งขัน ความตื่นเต้น ภัยอันตราย ความกล้าหาญและอำนาจการใช้สีแดงจัดจ้านในเนื้อที่กว้าง ๆ จะมีผลทำให้ผู้เรียน
สายตาอ่อนล้าเมื่อจ้องมองภาพนาน ๆ
สีน้ำเงิน เป็นสีที่บอกถึงความปลอดภัย สงบเยือกเย็น ความมั่นใจ ความรอบรู้ มีน้ำใจ มีคุณธรรม และความกลมเกลียวเป็นสีที่ให้ความรู้สึกที่ตรงข้ามกับสีแดง แต่ถ้าลดความเข้มของสีน้ำเงินจะทำให้มีบรรยากาศร่าเริงแจ่มใสขึ้น

สีเขียว ให้ความรู้สึกร้อนและเย็นใจขณะเดียวกัน สีเขียวแก่จะให้อารมณ์ที่สงบ ปลอดภัย ร่มเย็น ขณะที่สีเขียวอ่อนจะ
แสดงถึงความอบอุ่น กระฉับกระเฉง ร่าเริง ในด้านการสื่อความหมายมักนำสีเขียวมาเป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม ความสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต ส่วนของการออกแบบหน้าจอมักไม่นิยมสีเขียวควบคู่กับสีแดงใน
สัดส่วนเท่า ๆ กัน เพราะเป็นสีที่ตัดกันรุนแรงทำให้ผู้เรียนต้องใช้สายตามาก


สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ของความสดใส ร่าเริง สง่างาม และความสุข ความสว่างของสีเหลืองทำให้ดูโดดเด่น ผู้ผลิต
สามารถนำสีเหลืองมาใช้ร่วมกับสีเข้ม เช่น สีดำ เทา หรือสีน้ำเงินเข้ม จะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นขึ้น

สีม่วง ให้ความรู้สึกลึกลับ สงบ คล้ายกับสีน้ำเงินแก่ แต่เนื่องจากสีม่วงยังมีความตื่นเต้นของสีแดงเจืออยู่ บางครั้ง
ทำให้ดูหรูหรา สง่างาม โดยทั่วไปจะสีม่วงเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณและปัญญา

สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเรียบง่าย ทนทาน มั่นคง มักใช้เน้นวัตถุกับความเก่าแก่โบราณ บางครั้งจะใช้กับอารมณ์ที่ซึมเศร้า
หดหู่ เบื่อหน่าย ในด้านของการสื่อความหมายด้วยภาพจะใช้กับบรรยากาศที่แห้งแล้ง น่าสพรึงกลัว

สีดำ แสดงให้เห็นถึงความลึกลับ ซับซ้อน ความน่ากลัวความทุกข์ และความตาย สีดำเมื่อนำมาใช้กับสีอื่น ๆ จะให้
ความสวยงามและความรู้สึกทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี เช่นสีดำใช้คู่กับสีขาวในสัดส่วนที่สมดุลของความสว่างของ
สีที่เท่า ๆ กัน อาจแสดงถึงความรอบคอบและมั่นคง เป็นต้น


สีเทา เป็นสีกลาง ๆ ที่แสดงถึงความสุภาพ สุขุม สีเทาเป็นสีที่ไม่มีความเด่นเฉพาะตัวเหมือนสีแดงหรือสีน้ำเงิน ดังนั้น
เมื่อนำสีเทาไปใช้คู่กับสีอื่น ๆ ความรู้สึกของผู้เรียนจะแตกต่างกันตามอิทธิพลของสีใกล้เคียง เช่น สีเทาคู่กับสีม่วงจะให้
ความสง่างาม มั่นคง


สีขาว เป็นสีที่คู่กับสีอื่น ๆ ได้ดี สีขาวช่วยให้ภาพหรือข้อความมีความโดดเด่น สามารถนำมาเป็นจุดเน้นเพื่อนำสู่เป้าหมาย
ที่ต้องการได้ดี ในด้านของอารมณ์สีขาวเป็นสีที่ให้ความรู้สึกบริสุทธ์ิ สดใส ความอ่อนเยาว์









สำหรับงานศิลปะ การใช้สีเพื่อการสื่อความหมาย จะยึดการแบ่งสีเป็นสีหลัก ๆ อยู่ 3 สี คือ สีแดง น้ำเงิน และสีเหลือง เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า แม่สี และการที่มีสีเกิดขึ้นมีจำนวนมากมายตามที่พบเห็นกันในชีวิตประจำวันนั้น เป็นการผสมระหว่างแม่สีทั้งสาม ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันทำให้สีที่เกิดมีความหลากหลาย เช่น สีแดงผสมกับสีเหลืองในอัตราส่วนเท่า ๆ กันจะได้สีส้ม สีน้ำเงินผสมกับแดงจะได้สีม่วง เป็นต้น

โทนของสี
โทนสีหรือวรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากวงล้อสีธรรมชาติจะมีอู่ 2 โทน หรือ 2 วรรณะ คือ
1. โทนสีร้อน ลักษณะของสีจะให้ความสดใส ร้อนแรง ฉูดฉาดหรือรื่นเริง สีในกลุ่มนี้ ได้แก่ สีเหลือง สีแกง สีส้ม และสีไกล้เคลีย
2. โทนสีเย็นความรู้สกที่ปรากฏในภาพจะแสดงความสงเยือกเย็นจนถึงซึมเศร้า ได้แก่ สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียวและสีทีใกล้เคียง

การเขียนภาพการ์ตูน

สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความใสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการเขียนภาพการ์ตูนประกอบเรื่องใหก้คนรุ่นนี้ดูตามความรู้สึกของผมแล้ว มีความรู้สึกว่ายากลำบากยิ่งกว่าการเขียนภาพการ์ตูนให้ผู้ใหญ่อ่านเสียอีก เด็กระยะนี้เป็นผู้ช่างคิดช่างค้น มีสมองที่กำลังเจริญอย่างรุนแรง ฉะนั้นการที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุม รอบคอบและมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ฉะนั้น การที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุมรอบคอบ และมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ผู้เขียนเอาตัวของตัวเองเป็นที่สังเกตว่า ระยะที่อายุอยู่ในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังดูดซึมสิ่งแวดล้อมอย่างกระหาย ฉะนั้นหากได้พบภาพเขียนหรือบทประพันธ์ บทกลอนใดๆ ในระยะนั้นที่ประทับใจ แล้ว ความฝังใจจะเกิดขึ้นทันที และจะประทับใจอยู่กับตัวชั่วชีวิต ทั้งในประสบการณ์ด้านดีและด้านร้าย ฉะนั้นการ์ตูนให้เด็กวัย ๑๑ - ๑๖ ขวบ อ่านนี้ จากประสบการณ์ด้วยตนเอง จึงเตือนตนอยู่เสมอมิได้ลืมว่าทั้งก่อประโยชน์มหาศาลให้แก่เด็กและอาจในทางตรงกันข้ามก็ได้"



การออกแบบตัวอักษร
การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ

2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ


หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยา

ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยา
สื่อราคาเยานอกจากจะหมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน

1. สิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นสิ่งธรรมชาติสามารถนำใช้ประกอบการเรียนการสอนในรูปของ ของจริง ใช้ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงปรุงแต่ง เช่น ดิน หิน ทราย ต้นไม้ ใบไม้ แม่น้ำ ผลไม้ สนามหญ้า แม่น้ำ ป้ายจราจร ฯลฯ ซึ่งจำแนกประเภทได้เป็น

1.1 พืช ใช้เป็นสื่อการสอนได้มากมายทั้งในการสอนที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพืชโดยตรง หรือใช้ส่วนของพืช หรือสร้างความเข้าใจในการสอนเรื่องอื่น เป็นของจริงที่หาง่ายที่สุด แต่มักจะถูกมองข้าม ตัวอย่างที่พบเห็นได้ เช่น ครูต้องสอนให้นักเรียนทราบ และเข้าใจถึงรูปร่าง ลักษณะ หน้าที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ของต้นไม้ อันได้แก่ ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก ผล แทนที่ครูจะให้นักเรียนได้ศึกษาจากต้นไม้จริง ๆ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงเรียน ครูกลับใช้วิธีเขียนรูปต้นไม้บนกระดานชอล์ค เพื่อใช้อธิบายส่วนประกอบ ในขณะที่บริเวณโรงเรียน หรือแม้แต่ข้างห้องเรียนที่กำลังสอนอยู่ มีต้นไม้เป็นจำนวนมาก ที่เปิดโอกาสให้ครู นำเด็กออกไปสัมผัสกับต้นไม้จริง ซึ่งจะทำให้บรรยากาศ ของการเรียนดีกว่าการนั่งในห้อง ส่วนของพืชที่จะใช้ประกอบการสอนได้นั้นน่าจะใช้ได้ทุกส่วน นับตั้งแต่ รากแบบต่าง ๆ ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด เส้นใย ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนจะพิจารณาเลือกให้เหมาะสม
1.2 สัตว์ อาจเป็นส่วนของสัตว์ เช่น เปลือกหอย ปะการัง หนังสัตว์ เขาสัตว์ งา ขน เกล็ด หรือ แม้แต่สัตว์ทั้งตัวที่หาง่ายและไม่เป็นอันตราย ไก่ ปลา ปู กบ นก ก็สามาถนำมาใช้เป็นของจริงประกอบการสอนได้ทั้งสิ้น
1.3 แร่ธาตุ เช่น หิน ดิน ทราย สินแร่ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะดิน หิน มักจะมีอยู่ทั่วไป ครูอาจนำเข้ามาในห้องเรียนหรือนำนักเรียนออกไปศึกษาก็ได้
1.4 ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เช่น แสงแดด กระแสลม กระแสน้ำ ฝนเมฆหมอก


2. สื่อราคาเยาที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย วัสดุเหลือใช้ เศษวัสดุ หรือวัสดุราคาถูก เช่น ขวดเปล่า กระป๋อง เศษผ้า ถุงเท้า หลอดไฟฟ้า หลอดกาแฟ กระดาษหนังสือพิมพ์ วัสดุจากต้นไม้ สิ่งเหล่านี้ครูสามารถนำมาปรุงแต่ง ดัดแปลง ให้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณค่าได้ โดยอาศัยทักษะงานฝีมือ เพียงเล็กน้อยสื่อการเรียนการสอนที่ประดิษฐ์มาจากวัสดุราคาเยาจะมีคุณภาพหรือมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวครูผู้ผลิตและผู้ใช้เป็นสำคัญว่าจะมีคุณสมบัติ มีความสามารถดีเพียงใด คุณสมบัติของครู หรือผู้ประดิษฐ์และใช้วัสดุราคาเยาด้ ดีมีดังนี้
1. เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์
2. มีทักษะในงานช่างและงานฝีมือ เพราะการประดิษฐ์เศษวัสดุ ย่อมต้องอาศัยทักษะความรู้ความชำนาญทางช่างหรือการฝีมือที่ละเอียดอ่อนอยู่บ้าง
3. มีความรักและตั้งใจที่จะทำ
4. มีความรู้ความเข้าใจหลักสูตรเนื้อหาวิชา และจิตวิทยา การเรียนรู้เป็นอย่างดี
5. รู้จักสภาพธรรมชาติของท้องถิ่น เพื่อที่จะให้สามารถแสวงหาวัสดุจากสถานที่ต่าง ๆ ในท้องถิ่นมาใช้ได้มากที่สุด


3. สื่อการสอนได้เปล่าหน่วยงาน องค์การหลายแห่งทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ได้จัดทำสื่อเพื่อการเผยแพร่ ความรู้ต่างๆ เช่น โปสเตอร์ รูปภาพ แผ่นปลิว จุลสาร หรือแม้วัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาสูงเช่น เทปเสียง เทปภาพภาพสไลด์ ออกเผยแพร่แจกจ่าย เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สถานีอนามัย ไปรษณีย์ บริษัท ห้างร้าน สถานทูต สถานกงศุลแนวปฏิบัติในการผลิตและจัดหาสื่อจากท้องถิ่น
1. มีการศึกษาสำรวจสภาพท้องถิ่นล่วงหน้า เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแหล่งวัสดุต่าง ในเรื่องชนิด จำนวน วิธีการได้มา
2. เปิดโอกาสนักเรียนตลอดจนถึงผู้ปกครองนักเรียน มีส่วนในการนำวัสดุอุปกรณ์จากท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3. พิจารณาประเมินคุณค่า ของสื่อวัสดุที่นำมาใช้ เปรียบเทียบกับการใช้สื่อในลักษณะอื่น เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการใช้สื่อประกอบการสอนเนื้อหานั้น ๆ ในครั้งต่อไป
4. พิจารณาให้เหมาะสม ในเรื่องการนำสื่อ จากท้องถิ่นเข้ามาใช้ห้องเรียนกับการนำนักเรียนออกไปศึกษานอกห้องเรียนว่าจะคุ้มค่า เสี่ยงอันตรายหรือไม่

หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา
ตัวอย่างการเลือกสื่อการสอนที่พบเห็นได้เสมอ เช่นครูสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับจำนวน การบวก การลบ และต้องการวัสดุเป็นชิ้น ๆ ก้อน ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือนับจำนวน แทนที่ครูจะนึกถึงก้อนดิน หิน หรือวัสดุอื่นอีกมาก ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่น มาให้นักเรียนนับ แต่ครูกลับนึกถึงก้อนแม่เหล็กเป็นอันดับแรก และพยายามเรียกร้องให้มีการจัดซื้อกระดานแม่เหล็กมาใช้สอนนับจำนวน กรณีเช่นนี้เราได้นับจำนวนก้อนหินดูจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการนับชิ้นส่วนบนกระดานแม่เหล็กเสียอีก ถ้าก้อนหินหาได้ง่ายนักเรียนทุกคนสามารถหามาได้ง่าย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ
วัสดุการสอน หมายถึงวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ครูพึงหามาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนส่วนหนึ่งมักจะมองข้ามไป เมื่อนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงเฉพาะสื่อสำเร็จรูป จำพวกรูปภาพ แผนภูมิสไลด์ ที่มีผลิตขายเป็นธุรกิจการค้า ราคาค่อนข้างสูง สิ่งของที่หาได้ง่ายสำหรับการสอนบางเนื้อหา เช่น ใบไม้ ก้อนหิน ดิน ทราย บางครั้งมีคุณค่ายิ่งกว่าสื่อข้างต้นเสียอีก ถ้ารู้จักนำมาใช้อย่างเหมาะสมเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของจริง ซึ่งเรายอมรับกันว่ามีคุณค่าสูงสุด สำหรับการเรียนการสอน

การประเมินสื่อการเรียนการสอนราคาเยา

1. ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจของชาติ ในข้อนี้นักศึกษาตลอดถึงครูผู้สอน ผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายย่อมทราบและตระหนักกันอยู่แล้วว่าประเทศของเรา เป็นประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อการพัฒนาไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ต้องกู้เงินจากต่างประเทศปีละมาก ๆ ต้องจ่ายเงินกลับให้ต่างชาติรวมเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินมหาศาล ในด้านการศึกษาเองก็มีโครงการที่กู้เงินจากต่างประเทศมาดำเนินการอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อสภาพการณ์ เป็นเช่นนี้ การพิจารณาจัดหาสื่อหรือ เทคโนโลยีการศึกษามาใช้จึงควรคำนึงถึงเรื่องการประหยัดไว้ให้มาก
2. ฐานะการเงินของโรงเรียน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการศึกษา ได้ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ในรูปวัสดุ เครื่องมือประกอบการสอนใหม่ ๆ อย่างมากมายเป็นที่สนใจของครูผู้สอน และผู้บริหารการศึกษาทั่วไป มีความพยายามที่จะจัดซื้อจัดหาเทคโนโลยีหลายรูปแบบ ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในโรงเรียนขนาดใหญ่ ที่มีงบประมาณดำเนินมาก และโรงเรียนขนาดเล็กที่งบประมาณมีอย่างจำกัดในโรงเรียนขนาดใหญ่ เช่นโรงเรียนในตัวเมืองมีนักเรียนมาก มีงบประมาณมากพอที่จะจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย เข้ามาไว้ในโรงเรียน แต่เทคโนโลยีด้านวัสดุ และเครื่องมือต่าง มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาประกอบกับความต้องการที่ดูจะไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้โรงเรียนเห็นว่า ยังขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัยอยู่ตลอดไป งบประมาณที่ว่ามีมากแล้ว ก็กลับไม่เพียงพอสำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์บางอย่างซื้อไม่ได้ด้วยเงินบำรุงการศึกษาหรืองบประมาณแผ่นดิน โรงเรียนบางแห่งก็มีวิธีการหาเงินจากแหล่งอื่นมาจัดซื้อ เช่น เรียกร้องให้มีการบริจาค จากผู้ปกครองของนักเรียน สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนกันอยู่ทั่วไปในโรงเรียนขนาดเล็กงบประมาณมีจำกัด ก็มีความพยายามเช่นเดียวกัน ที่จะจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ทัีนสมัยให้ทัดเทียมกับโรงเรียนขนาดใหญ่ บางแห่งขาดการวางแผนที่ชัดเจนว่า จะซื้อวัสดุอุปกรณ์นั้น ๆ มาเพื่ออะไร คุ้มค่าหรือไม่ มีค่าใช้จ่ายในการใช้และการบำรุงรักษาตามมามากน้อยเพียงใด เมื่อซื้อมาแล้วใช้ไม่คุ้มค่าเก็บไว้นานก็เสื่อมสภาพ เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีเช่น โรงเรียนบางแห่งพยายามหาทุนจัดซื้อเครื่องฉายภาพยนตร์ 16 ม.ม.แต่เมื่อซื้อมาแล้วมีโอกาสใช้เพียง 2 - 3 ครั้งต่อปี เนื่องจากมีปัญหาการจัดหา หรือยืมฟิล์มมาฉาย

3. วัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูปมีราคาสูง ตัวอย่างราคาวัสดุอุปกรณ์ในปี พ.ศ.2537 ราคาสไลด์ การศึกษาขนาด 2"x 2" เรื่องหนึ่งจำนวน 30 ภาพ ราคาขายสำหรับสไลด์ที่ผลิตขึ้นโดยหน่วยงานภายในประเทศประมาณ 400-600 บาท ถ้าผลิตมาจากต่างประเทศ ราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แม้ว่าครูผู้สอนจะสามารถผลิตสไลด์เองค่าใช้จ่ายก็จะใกล้เคียงกับที่ซื้อสำเร็จรูป เนื่องจากวัตถุดิบ เช่นฟิล์มและค่าล้างฟิล์ม มีราคาสูง เครื่องฉายสไลด์มีราคาตั้งแต่ 8,000 - 30,000 บาท วิดีโอเทป รายการทางการศึกษา 1 ม้วน ราคาตั้งแต่ 250-1,200 บาท เครื่องเล่นวิดีโดเทปราคาตั้งแต่ 8,000 บาท ถึงหลายหมื่นบาท สื่ออื่น ๆ เช่น แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง ล้วนแต่ราคาสูง ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงควรหันมาพิจารณาสื่อราคาเยา ที่สามารถผลิตหรือหาได้ง่ายจากท้องถิ่นแทนที่จะเรียกร้องหาวัสดุอุปกรณ์อันทันสมัยอย่างเดียว

4. สื่อสำเร็จรูปไม่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคม สื่อสำเร็จรูปที่ผลิตจำหน่าย อาจใช้วิธีการสื่อความหมายบนพื้นฐานของประเพณีวัฒนธรรมและสภาวะแวดล้อมทางกายภาพที่แตกต่างไปจากสภาพชีวิตและสังคมของนักเรียนในห้อง การสื่อความหมายอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่น การใช้ภาพยนตร์การศึกษาที่ผลิตจากต่างประเทศ

5 คุณสมบัติของสื่อที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้สื่อสำเร็จรูปทั้งหลายเป็นเพียงประสบการณ์จำลองเท่านั้น คุณค่าด้านการเรียนรู้จึงมีข้อจำกัด ส่วนสื่อราคาเยาที่หาได้ในท้องถิ่นนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงอย่างกว้างขวางเพราะมีโอกาสที่จะใช้สื่อที่เป็นของจริงได้มาก

หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
1.ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2.ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3.คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน


ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
· ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
· ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสม
· การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ
· ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร





การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน
เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เริ่มเข้ามาเป็น ที่รู้จักในวงการศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ที่ผ่านมาเว็บได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการศึกษาและ กลายเป็นคลังแห่งความรู้ที่ไร้พรมแดน ซึ่งผู้สอนได้ใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่ รวมทั้งการนำการศึกษาไปสู่ผู้ที่ขาดโอกาสด้วย ข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง.2544) --- การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี ปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้ เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เริ่มเข้ามาเป็น ที่รู้จักในวงการศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ที่ผ่านมาเว็บได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการศึกษาและ กลายเป็นคลังแห่งความรู้ที่ไร้พรมแดน ซึ่งผู้สอนได้ใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่ รวมทั้งการนำการศึกษาไปสู่ผู้ที่ขาดโอกาสด้วย ข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง.2544)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี ปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้



ประโยชน์การเรียนการสอนผ่านเว็บ
ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บมีมากมายหลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นมิติใหม่ของเครื่องมือและกระบวนการในการเรียนการสอน โดยมีผู้กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บไว้ดังนี้
ถนอมพร เลาหจรัสแสง(2544) ได้กล่าวถึงการสอนบนเว็บมีข้อดีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1.การสอนบนเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้าชั้นเรียนได้เรียนในเวลาและสถานที่ ๆ ต้องการ ซึ่งอาจเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาใกล้เคียงที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ การที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาที่กำหนดไว้จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านของข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ศึกษาของผู้เรียนเป็นอย่างดี


2.การสอนบนเว็บยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในภูมิภาคหรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา ถกเถียง อภิปราย กับอาจารย์ ครูผู้สอนซึ่งสอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาในนครหลวงหรือในต่างประเทศก็ตาม

3.การสอนบนเว็บนี้ ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลาการสอนบนเว็บ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้รวมทั้งมีทักษะในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.การสอนบนเว็บ ช่วยทลายกำแพงของห้องเรียนและเปลี่ยนจากห้องเรียน 4 เหลี่ยมไปสู่โลกกว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพสนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบในความเป็นจริง โดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้ตามบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง(Contextualization) และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-based Learning) ตามแนวคิดแบบConstructivism

5.การสอนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ เนื่องจากที่เว็บได้กลายเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลกโดยไม่จำกัดภาษา การสอนบนเว็บช่วยแก้ปัญหาของข้อจำกัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิมจากห้องสมุดอันได้แก่ ปัญหาทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่จำกัดและเวลาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเว็บมีข้อมูลที่หลากหลายและเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการที่เว็บใช้การเชื่อมโยงในลักษณะของไฮเปอร์มิเดีย (สื่อหลายมิติ) ซึ่งทำให้การค้นหาทำได้สะดวกและง่ายดายกว่าการค้นหาข้อมูลแบบเดิม

6.การสอนบนเว็บจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณลักษณะของเว็บที่เอื้ออำนวยให้เกิดการศึกษา ในลักษณะที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การให้ผู้เรียนร่วมมือกันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่ายการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงไว้บนเว็บบอร์ดหรือการให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาพบปะกับผู้เรียนคนอื่น ๆ อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกันที่ห้องสนทนา เป็นต้น

7.การสอนบนเว็บเอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการเปิดปฏิสัมพันธ์นี้อาจทำได้ 2 รูปแบบ คือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและ/หรือผู้สอน ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการสอนบนเว็บ ซึ่งลักษณะแรกนี้จะอยู่ในรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกัน ส่วนในลักษณะหลังนั้นจะอยู่ในรูปแบบของการเรียนการสอน แบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบที่ผู้สอนได้จัดหาไว้ให้แก่ผู้เรียน

8.การสอนบนเว็บยังเป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถาบันจากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสอบถามปัญหาขอข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงโดยตรงซึ่งไม่สามารถทำได้ในการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการติดต่อสื่อสารในลักษณะเดิม ๆ

9.การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตน สู่สายตาผู้อื่นอย่างง่ายดาย ทั้งนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพื่อนๆ ในชั้นเรียนหากแต่เป็นบุคคลทั่วไปทั่วโลกได้ ดังนั้นจึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจภายนอกในการเรียนอย่างหนึ่งสำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะพยายามผลิตผลงานที่ดีเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงตนเองนอกจากนี้ผู้เรียนยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น

10.การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร ให้ทันสมัยได้อย่าง สะดวกสบายเนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร ( Dynamic ) ดังนั้นผู้สอนสามารถอัพเดตเนื้อหาหลักสูตรที่ทันสมัยแก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ทำให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียนการสอนแบบเดิมและเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนบนเว็บสามารถนำเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพ 3 มิติ โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบของการนำเสนอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน